บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.
Story of subject
วันนี้เริ่มต้นคาบด้วยการนำบล็อกเกอร์ของแต่ละคนไปเชื่อมต่อกับบล็อกเกอร์ของอาจารย์ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นำเสนอแหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ โดยมีทั้งหมด 4 สถานที่ ได้แก่
- อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี
- Coro Field อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
- อ่าวทุ่งโป่ง กองพันลาดตระเวน ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
เมื่อจบการนำเสนอแหล่งการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์แล้วอาจารย์ได้แจกกระดาษA4ให้กับนักศึกษาทุกคนคนละ 1 แผ่น และอาจารย์ได้บอกให้นักศึกษาหาวิธีที่จะทำให้กระดาษของตนเองลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีการคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งเพื่อนๆส่วนใหญ่จะพับเป็นจรวดเกือบทุกคน จะมีแค่ไม่กี่คนที่เลือกจะไม่ทำอะไรกับกระดาษเลย เมื่อหมดเวลาในการคิดหาวิธีแล้วอาจารย์ได้ให้ทุกคนลองล่อนจรวดหรือโยนกระดาษเพื่อที่จะทำให้สิ่งที่ตนคิดลอยอยู่ในอากาสได้นานที่สุด ซี่งผลออกมามีทั้งลอยอยู่ในอากาศได้นานและล่วงลงพื้นอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้พวกเราจับกลุ่มกัน4-5คนแล้วระดมความคิดเพื่อที่จะทำให้กระดาษของกลุ่มตนเองลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำการแบ่งครึ่งกระดาษA4แล้วนำมาพับจรวดขนาดเล็ก ผลปรากฏว่าจรวดของกลุ่มเราสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานกว่าเพื่อนกลุ่มอื่นๆ อาจารย์จึงให้โจทย์กับพวกเราอีกครั้งโดยโจทย์ในครั้งนี้คือ ทำให้กระดาษลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุดโดยที่ห้ามนำกระดาษทำเป็นจรวด โดยการระดมความคิดในครั้งนี้เราสามารถค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งกลุ่มของเราได้นำกระดาษมาทำให้มีลักษณะคล้ายๆลูกยาง
ลูกยาง |
ลูกยางจากกระดาษ |
และเมื่อเรานำลูกยางจากกระดาษไปทดลองโยน ผลปรากฏออกมาว่าลูกยางจากกระดาษของกลุ่มเราสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานเป็นลำดับที่3 เมื่อเทียบกับของเพื่อนกลุ่มอื่นๆ อาจารย์จึงได้ให้ทุกกลุ่มนำสิ่งที่ตนคิดขึ้นมาไปปรับปรุงให้มันสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานกว่าเดิมให้ได้ โดยกลุ่มของเราอาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่าเราควรที่จะทำให้ลูกยางจากกระดาษมีขนาดใหญ่กว่านี้ พร้อมทั้งหาอะไรมาถ่วงน้ำหนักที่ก้นของมันด้วย พวกเราจึงตัดสินใจใช้แม็กเย็บที่ก้นของมันเพื่อถ่วงน้ำหนัก และเมื่อเราลองนำไปโยน ผลออกมาคือ ลูกยางจากกระดาษสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานกว่าเดิม
เมื่อถึงเวลาท้ายคาบอาจารย์ได้สรุปสิ่งที่เราได้เรียนรู้ในวันนี้คือเรื่องของ อากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราตลอดเวลา สาเหตุที่ทำให้กระดาษลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเพราะ อากาศได้ไปกระทบกับพื้นผิวของกระดาษทำให้กระดาษตกลงพื้นได้ช้าลง และที่กระดาษต้องล่วงลงพื้นนั้นเป็นเพราะแรงโน้มถ่วงของโลก การเรียนรู้โดยวิธีนี้เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เราเข้าใจในเรื่องของอากาศมากขึ้น ซึ่งทำให้เราสามารถนำความรู้ในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้จริง และเป็นเรื่องที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัวของเด็ก.
บรรยากาศการระดมความคิด |
บรรยากาศการระดมความคิด |
ชิ้นงานจากการระดมความคิดภายในกลุ่ม |
แต่ละกลุ่มออกมาสรุปการเรียนรู้ในวันนี้ |
แต่ละกลุ่มออกมาสรุปการเรียนรู้ในวันนี้ |
แต่ละกลุ่มออกมาสรุปการเรียนรู้ในวันนี้ |
แต่ละกลุ่มออกมาสรุปการเรียนรู้ในวันนี้ |
Vocabulary (คำศัพท์)
Air = อากาศ
Crank = การเหวี่ยง
Experiment = การทดลอง
Floating = การลอยตัว
Nature = ธรรมชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น