บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
การจัดประสบการ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
Story of Subject (เนื้อหาที่สอน)
วันนี้อาจารย์ได้ตรวจคลิปการทดลองของเพื่อนๆคนที่อาจารย์ยังไม่ได้ตรวจเช็คความเรียบร้อย อีกทั้งอาจารย์ยังได้ให้คำแนะนำในการทำคลิปให้ออกมาถูกต้องสมบูรณ์
ตัวอย่างการทดลอง
สีเต้นระบำ เนื่องจากน้ำนมมีไขมีนและโมเลกุล เมื่อทำปฎิกิริยากัยซันไลน์ที่ใช้ในการกัดจัดคาบไขมัน นมและซันไลน์เเลยทำปฎิกิริยากัน สีผสมอาหารที่เราใส่ลงไปเลบเกอดการเคลื่อนที่ไปมาอย่างรวดเร็ว จนเรียกว่าสี เต้นระบำ สามารถดูการทดลองได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=Sgcv_LpCo7w
เมล็ดพืชเต้นรำ เป็นการทดลองเกี่ยวกับการเกิดก๊าซคาร์บอนไซด์ เกร็ดความรู้ของการทดลองนี้คือ ถ้าใส่เมล็ดพืชชนิดอื่นเช่น ถั่วเขียวลงในโซดาจะเกิดปฏิกิริยากับโซดาน้อยกว่าเม็ดแมงลักเพราะ เมล็ดถั่วเขียวมีน้ำหนักมากกว่า https://www.youtube.com/watch?v=Hew4mGwdD3s
หมุดลอยน้ำ แรงตึงผิวนี้ จะสามารถรับน้ำหนักวัตถุที่หนักกว่าน้ำได้แต่ต้องวางวัตถุอย่างระมัดระวังและขนานกับผิวน้ำ ไม่เช่นนั้นหมุดจะจมน้ำได้ https://www.youtube.com/watch?v=lH4bjPfEJLE
การละลาย น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีมาก เกลือ(ตัวถูกละลาย) ละลายได้ดีในน้ำ ทรายไม่ละลายน้ำ การระเหยน้ำออกสามารถแยกเกลือออจากน้ำได้ https://www.youtube.com/watch?v=wvV4RxqIC5E
อินดิเคเตอร์จากพืช สารที่เปลี่ยนสีได้เมื่อสัมผัสสารอื่นที่เป็นกรดหรือเบส โดยไม่ต้องชิมสาร https://www.youtube.com/watch?v=xdpGQoREJgs
การทำกิจกรรมCooking เรื่อง เกี๊ยวทอด ผ่านการเรียนรู้แบบ STEM
ขั้นตอนที่่ 1 ออกแบบ(Engineering)เกี๊ยวของตนเองลงในกระดาษ หลังจากนั้นในสมาชิกภายในกลุ่มตกลงกันว่าเราจะเอารูปแบบเกี๊ยวของใครมาทำ รวมทั้งให้เขียนสัดส่วนที่ใช้ในการทำเกี๊ยวหนึ่งชิ้นว่าต้องในวัตถุดิบจำนวนเท่าใดและจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ(Technolgy)
ขั้นตอนที่ 2 ตักวัตถุดิบตามสัดส่วนที่เราได้เขียนเอาไว้ อย่างเช่น หมูบดคนละ1ช้อน มีสมาชิก 3 คน ตักหมูบด 3 ช้อน ปูอัด 1 ช้อน ผักชี 1 ช้อน และเกี๊ยว 6 แผ่น (Math)
ขั้นตอนที่ 3 ห่อเกี๊ยวตามแบบที่เราได้วางแผนเอาไว้
ขั้นตอนที่ 4 ครูดำเนินขั้นตอนแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์(Science) โดยการตั้งประเด็นปัญหากับเด็ก เช่น ตอนนี้คุณครูมีเกี๊ยวที่เด็กๆได้ทำกันมาเมื่อสักครู่แต่ตอนนี้เกี๊ยวของเด็กๆสามารถทานได้ไหม แล้วเราจะมีวิธีการอย่างไรที่ทำให้เกี๊ยวของเด็กๆทานได้ หลังจากนั้นก็ให้เด็กตั้งสมติฐาน เช่น ถ้าคุณครูนำเกี๊ยวลงไปทอดเกี๊ยวจะเป็นอย่างไร เด็กๆก็อาจจะตอบว่าเกี๊ยวสุกและทานได้ ครูเริ่มวิธีการทำ และสรุปผล
Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
STEM เป็นกระบวนการเชิงระบบแบบวิทยาศาสตร์ที่นำมาเชื่อมโยงในกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงาน จากการคิดค้นการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ซึ่งสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับเด็ก โดยนำสิ่งที่เรียนรู้ในห้องเรียนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
Adoption (การนำไปใช้)
ในการจัดการเรียนรู้แบบ STEM ครูจะต้องจัดห้องเรียนให้เป็นฐานการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เช่น ฐานที่ 1 เป็นการจัดเตรียมวัตถุดิบ ฐานที่ 2 ออกแบบเกี๊ยวและเขียนสัดส่วนในการทำเกี๊ยว ฐานที่ 3 ตักวัตถุดิบตามแผนที่ได้วางแผนเอาไว้ ฐานที่ 4 ห่อเกี๊ยวตามแผนที่ได้วางเอาไว้ ฐานที่ 5 ทอดเกี๊ยว การที่ครูจัดห้องเรียนให้เป็นฐานเช่นนี้เพื่อทำให้ห้องเรียนเกิดความเรียบร้อยไม่วุ่นวาย และทำให้เด็กทุกคนได้เข้าฐานทุกฐานอย่างครบถ้วน
Assessment (การประเมิน)
ตนเอง : ให้ความสนใจในการทำกิจกกรมCookingเป็นอย่างดี พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆจากอาจารย์
อาจารย์ : ให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมCookingทุกขั้นตอน เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำเอาไปใช้ได้จริง
บรรยากาศ : เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีทำให้ห้องเรียนเต็มไปด้วยความสนุกสนาน
Vocabulary (คำศัพท์)
Melt = การละลาย
Plant seeds = เมล็ดพืช
Design = การออกแบบ
Ingredients = ส่วนผสม
Frying = การทอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น