บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
การจัดประสบการ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
Story of Subject (เนื้อหาที่สอน)
การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นจาการตรวจบล็อกของแต่ละคน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและชี้แนะวิธีการบันทึกการเรียนรู้ให้ถูกต้องและเหมาะสม หลังจากนั้นเป็นการนำเสนองานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ชื่องานวิจัยว่า
"ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้มุ่งให้เด็กเกิดทักษะ ดังนี้
1) ทักษะการสังเกต
2) ทักษะการจำแนกประเภท
3) ทักษะการหามิติสัมพันธ์
4) ทักษะการลงความเห็นข้อมูล
ซึ่งก่อนการจัดกิจกรรมผู้ทำการวิจัยได้มีการทำแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามทักษะด้านต่างๆกับเด็ก เมื่อทดสอบกับเด็กเสร็จแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการการจัดกิจกรรม
สามารถศึกษาแผนการจัดกิจกรรมเพิิ่มเติมได้ต่อที่ ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สามารถศึกษาแผนการจัดกิจกรรมเพิิ่มเติมได้ต่อที่ ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนพวกเราทุกคนร้องเพลงจากศัพท์ภาษาอังกฤษ ดังนี้
ซึ่งการสอนร้องเพลงเช่นนี้เป็นการช่วยให้เราจำคำศัพท์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับเด็กปฐมวัยจะจดจำได้ดีผ่านการร้องเพลงมากที่สุด
ต่อไปเป็นการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน โดยอาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้พวกเราคู่ละ 1 แผ่น แล้วแบ่งครึ่งตามแนวยาว จากนั้นให้พับแบ่งครึ่งกระดาษและวาดรูปภาพลงในกระดาษแผ่นหน้าและแผ่นหลัง
โดยที่ให้แผ่นหลังวาดต่างจากแผ่นหน้าเล็กน้อย เมื่อวาดเสร็จให้เราเปิดกระดาษอย่างรวดเร็วและเป็นจังหวะจะทำให้เป็นภาพเคลื่อนไหวอย่างง่าย ซึ่งสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้
ซึ่งการสอนร้องเพลงเช่นนี้เป็นการช่วยให้เราจำคำศัพท์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับเด็กปฐมวัยจะจดจำได้ดีผ่านการร้องเพลงมากที่สุด
ต่อไปเป็นการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน โดยอาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้พวกเราคู่ละ 1 แผ่น แล้วแบ่งครึ่งตามแนวยาว จากนั้นให้พับแบ่งครึ่งกระดาษและวาดรูปภาพลงในกระดาษแผ่นหน้าและแผ่นหลัง
แผ่นหน้า |
แผ่นหลัง |
หลังจากทำกิจกรรมในห้องเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น อาจารย์ได้อธิบายถึงเทคนิคการสอนปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งข้าพเจ้าสรุปได้ ดังนี้
1.วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Metod)
2.เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude)
แนวคิดหรือความรู้สึกของบุคคลที่มีแนวโน้มแสดงพฤติกรรม ต่อไปนี้
3.ทักษะกระบวนการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process Skills)
ความสามารถ และความชำนาญในการคิด เพื่อค้นหาความรู้ และการแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีทั้งสิ้น 13 ทักษะ โดยจัดแบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ
ความสามารถ และความชำนาญในการคิด เพื่อค้นหาความรู้ และการแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีทั้งสิ้น 13 ทักษะ โดยจัดแบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ
- ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ
- ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ
ทักษะพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้น (Basic Science Process Skill)
1)ทักษะการสังเกต (Observation)
ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ โดยไม่ลงความเห็นของผู้สังเกต เพื่อให้ได้ข้อมูล ดังนี้
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ
- ข้อมูลเชิงปริมาณ
- ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
2)ทักษะการวัด (Measurement)
การใช้เครื่องมือสำหรับการวัดข้อมูลในเชิงปริมาณของสิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นตัวเลขในหน่วยการวัดที่ถูกต้อง แม่นยำได้ โดยต้องมีหน่วยกำกับเสมอ
3) ทักษะการคำนวณ (Using numbers)
วามสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร หรือจัดกระทำกับตัวเลขที่แสดงค่าปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งได้จากการสังเกต การวัด การทดลองโดยตรง
4) ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)
ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดจำแนก เกณฑ์ในการจำแนก
- เกณฑ์ความเหมือน
- เกณฑ์ความแตกต่าง
- เกณฑ์ความสัมพันธ์
5) ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Space/space Relationship and Space/Time Relationship)
การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆที่เกี่ยวกับสถานที่ รูปทรง ระยะทาง พื้นที่ ฯลฯ แบ่งออกเป็น
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเวลา
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา
6) ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing data and communication)
ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นมาจัดกระทำใหม่โดยวิธีการต่างๆ
- การจัดเรียงลำดับ
- การแยกประเภท
- คำนวณหาค่าใหม่
7) ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
ความสามารถในการอธิบายข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
8) ทักษะการพยากรณ์ (Prediction)
ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นมาช่วยในการทำนาย
ทักษะขั้นบูรณาการ หรือ ทักษะเชิงซ้อน (Intergrated Science Process Skill)
9) ทักษะการตั้งสมมุติฐาน (Formulating hypothesis)
ความสามารถในการให้คำอธิบายซึ่งเป็นคำตอบล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ ต่อไป
10) ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally)
ความสามารถในการกำหนดความหมายและขอบเขตของคำ หรือตัวแปรต่างๆ ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตและวัดได้
11) ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables)
การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมุติฐานหนึ่ง
12) ทักษะการทดลอง (Experimenting)
กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบหรือทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ในการทดลองจะประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ
- การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนลงมือทดลองจริง เพื่อกำหนดวิธีการดำเนินการทดลองซึ่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีดำเนินการทดลองซึ่งเกี่ยวกับการกำหนดและควบคุมตัวแปร และวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในการทดลอง
- การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การลงมือปฏิบัติการทดลองจริงๆ
- การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ซึ่งอาจเป็นผลของการสังเกต การวัด และอื่นๆ
13) ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interpretting data and conclusion)
ความสามารถในการบอกความหมายของข้อมูลที่ได้จัดกระทำและสรุปให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษาภายในขอบเขตของการทดลองนั้นๆ
Vocabulary (คำศัพท์)
Observe = การสังเกต
Measuring = การวัด
Classifying = การจำแนกประเภท
Communicating = การสื่อความหมายข้อมูล
Predicting = การพยากรณ์
Experimenting = การทดลอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น