Rainbow Arch Over Clouds

Diary no.14 Tuesday, 14 November 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
การจัดประสบการ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เวลา 08.30 - 12.30 น.

Story of Subject (เนื้อหาที่สอน)

          อาจารย์ตรวจสอบความถูกต้องของแผนผังความคิดตามหน่วยการเรียนรู้ รวมถึงอาจารย์ยังได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอต่างๆในการทำแผนผังให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

แผนผังความคิดอันเดิม

แผนผังความคิดที่ได้ปรับแก้แล้ว
โดยแผนผังความคิดที่ได้ปรับแก้แล้วมีเนื้อหาดังนี้

ชนิดของข้าว
      ☞ ข้าวเหนียว
          - ข้าวเหนียวดำ
          - ข้าวเหนียวขาว
     ☞ ข้าวเจ้า
         - ข้าวหอมมะลิ
         - ข้าวเสาไห้
         - ข้าวกล้อง
♦ลักษณะของข้าว
      ส่วนประกอบของข้าว
         ต้นข้าว
         - รวงข้าว
         - ใบข้าว
         - ราก
     ☞ สี
         - ขาว
         - ดำ
         - น้ำตาล
     ☞ รูปทรง
         - กลมรี
     ☞ พื้นผิว
         - เรียบลื่น
     ☞ กลิ่น
         - หอม
     ☞ รสชาติ
         - หอมหวาน
ประโยชน์ของข้าว
     ☞ พลังงาน
          - คาร์โบไฮเดรต
     ☞ อาชีพ
          - ชาวนา
          - คนขายปุ๋ย
          - คนทำอาหาร
     ☞ อาหาร
          - คาว  ข้าวผัด, ข้าวจี่
          - หวาน  ข้าวเหนียวมูล, ข้าวเหนียวเปียก
          - เครื่องดื่ม น้ำนมข้าว
          - การแปรรูป ข้าวเม่า, ข้าวหมาก
♦การดูแลรักษา
      ☞ ขยายพันธุ์
          - เพาะ
          - หว่าน
          - ดำ
     ☞ การทำนา
          - ปี    
          - ปรัง
     ☞ ปัจจัยในการดำรงชีวิต
         - ดิน
         - น้ำ
         - อากาศ
         - แสงแดด
         - การให้ปุ๋ย
               - ปุ๋ยอินทรีย์
               - ปุ๋ยเคมี
     ☞ การป้องกันกำจัดวัชพืช/แมลง
♦ข้อพึงระวัง
      การใช้ปุ๋ยเคมี  
      ถ้ากินข้าวคำน้ำคำทำให้ท้องอืด
     ☞ ถ้ากินข้าวมากเสี่ยงเป็นเบาหวาน

             หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มนำหน่วยการเรียนรู้มาเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ 8 สาระ
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต คือให้เห็นกระบวนการดำรงชีวิต เช่น การสำรวจ บอกลักษณะของข้าว เป็นต้น
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ต้องมีความสัมพันธ์กันและบอกได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เช่นการพาเด็กไปทดลองทำนาหรือเกี่ยวข้าว เป็นต้น
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร คือการทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น การนำข้าวมาประกอบอาหาร การขยายพันธุ์ข้าว เป็นต้น
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ เช่นการจม การลอย หรือการที่ข้าวออกรวงมาแล้วถูกแรงดึงดูดของโลกทำให้รวงข้าวห้อยลงมา การบดข้าว เป็นต้น
สาระที่ 5 พลังงาน คือการใช้พลังานที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การฝัดข้าว การทำข้าวคั่ว(ใช้ความร้อน) เป็นต้น
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก คือการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ เช่น การเปลี่ยนฤดูเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ทำให้มีผลกระทบกับการปลูกข้าว
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ เช่นกลางวันและกลางคืน
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
- ตั้งคำถาม
- ตั้งสมติฐาน
- การทดลอง
- สรุปผล
- ย้อนดูสมมติฐานว่าเป็นจริงหรือไม่
- รายงานผลที่ได้

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

          หน่วยการเรียนรู้ต่างๆสามารถนำมาบูรการการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานได้ เช่นหน่วยการเรียนรู้เรื่องข้าว สามารถสอนในสาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมได้ เช่น การพาเด็กลงไปสำรวจแหล่งเรียนรู้โดยตรง ครูอาจจะให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติในเรื่องของการขยายพันธุ์ข้าว เช่น การดำนา การหว่านข้าว เป็นต้น ทำให้เด็กได้เห็นถึงกระบวนการของการปลูกข้าวตั้งแต่ต้นจนมาเป็นเมล็ดข้าวที่ไว้ให้เด็กๆนำมาประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน

Adoption (การนำไปใช้)

          สามารถนำเอาแผนผังความคิดไปใช้ได้ในการเรียนการสอน ซึ่งแผนผังความคิดจะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาต่างๆได้ง่าย และสามารถนำไปเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐานได้ง่ายยิ่งขึ้น

Assessment (การประเมิน)

ตนเอง : มีส่วนร่วมในการวางแผนการทำแผนผังทุกขั้นตอน 
อาจารย์ : ให้คำแนะนำในการทำแผนผังจนทำให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์
บรรยากาศ : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำแผนผังความคิดกันภายในกลุ่มอย่างตั้งใจ

Vocabulary (คำศัพท์)

Living Factors = ปัจจัยการดำรงชีวิต
Rice propagation = การขยายพันธุ์ข้าว
Rice processing = การแปรรูปข้าว
Planning = การวางแผน
Experimental farming = การทำฟาร์มทดลอง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น