บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
การจัดประสบการ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
Story of Subject (เนื้อหาที่สอน)
ในวันนี้อาจารย์ได้ให้พวกเราแบ่งกลุ่มกันกลุ่มละ 4-5 คน โดยงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้พวกเราทำก็คือ Mind Mapping ตามหน่วยการเรียนรู้ที่มีสอนในโรงเรียน เมื่อได้หน่วยการเรียนรู้ที่สมาชิกภายในกลุ่มระดมความคิดว่าเป็นเรื่องที่สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มสนใจและเป็นเรื่องที่เด็กควรที่จะรู้แล้วนั้นก็นำเนื้อหามาแยกออกเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้
1.ชนิดหรือประเภท
2.ลักษณะ
3.ส่วนนประกอบ
4.ประโยชน์
5.การดูแลรักษา
ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้เลือกทำหน่วย "ข้าว"และได้ระดมความคิดออกมาเป็นดังนี้
RICE ข้าว
♦ชนิดของข้าว
☞ ข้าวเหนียว
- ข้าวเหนียวดำ
- ข้าวเหนียวขาว
☞ ข้าวเจ้า
- ข้าวหอมมะลิ
- ข้าวเสาไห้
- ข้าวกล้อง
♦ลักษณะของข้าว
☞ สี
- ขาว
- ดำ
- น้ำตาล
☞ รูปทรง
- กลมรี
☞ พื้นผิว
- เรียบลื่น
☞ กลิ่น
- หอม
☞ รสชาติ
- หอมหวาน
♦ส่วนประกอบของข้าว
☞ ต้นข้าว
☞ รวงข้าว
☞ ใบข้าว
☞ ราก
♦ประโยชน์ของข้าว
☞ อาหาร
- คาว
- หวาน
- เครื่องดื่ม
☞ อาชีพ
- ชาวนา
- คนขายปุ๋ย
☞ พลังงาน
♦การดูแลรักษา
☞ ขยายพันธุ์
- นาปี
- นาปรัง
☞ การให้ปุ๋ย
- ปุ๋ยอินทรีย์
- ปุ๋ยเคมี
☞ การป้องกันกำจัดวัชพืช
Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
ได้ทราบถึงกระบวนการทำงานภายในกลุ่มและได้ทราบเนื้อหาบางส่วนที่เรายังไม่รู้ และที่สำคัญคือได้ทราบวิธีการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ว่ามีหัวข้อที่จะสอนภายหนึ่งสัปดาห์ว่าต้องเริ่มสอนจากเรื่องใดก่อนเป็นอันดับแรก
Adoption (การนำไปใช้)
สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการทำMind Mappingไปใช้ในการออกฝึกประสบการณ์ในชั้นปีที่5ได้จริง และทำให้เราทราบถึงขั้นตอนวิธีการสอนตามหน่วยการเรียนรู้อีกด้วย
Assessment (การประเมิน)
ตนเอง : มีส่วนร่วมในการทำMind Mappingและให้ความสนใจในทุกขั้นตอนของการทำงานอย่างตั้งใจ
อาจารย์ : ให้คำแนะนำในขั้นตอนการทำและคอยชี้แนะแนวทางที่เหมาะสมในการทำงานได้เป็นอย่างดี
บรรยากาศ : เพื่อนๆทุกคนให้ความสนใจกับงานที่ได้รับอบหมายเป็นอย่างดี ทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนเป็นบรรยากาศที่เหมาะกับการเรียนรู้เป็นอย่างมาก
Vocabulary (คำศัพท์)
Mind map = แผนผังความคิด
Type = ชนิด
Nature = ลักษณะ
Ingredient = ส่วนประกอบ
Benefit = ประโยชน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น