Rainbow Arch Over Clouds

Diary no.7 Tuesday, 19 September 2560.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

เวลา 08.30 - 12.30 น.

Story of  Subject (เนื้อหาที่สอน)

     การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการนำเสนอตัวอย่างการสอนและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          โดยตัวอย่างการสอนในวันนี้มีชื่อว่า "สอนวิทย์คิดสนุก" ของ อาจารย์กรรณิการ์ เฉิน อาจารย์กรรณิการ์ได้มีวิธีการสอนโดยเริ่มต้นจากให้คุณครูระดับชั้นปฐมวัยมาสวมบทบาทเป็นเด็กเองก่อน โดยการทดลองแรกที่อาจารย์กรรณิการ์และคุณครูได้ทำการทดลองเป็นการทดลองหยดน้ำลงในน้ำตาลก้อน ก่อนที่จะเริ่มทำการทดลองอาจารย์กรรณิการ์ได้ใช้คำถามถามคุณครูที่สวมบทบาทเป็นเด็กปฐมวัยเพื่อให้คุณครูได้เกิดการสังเกตสิ่งของและอุปกรณ์ที่ใช้ทำการทดลอง อาจารย์กรรณิการ์ได้อธิบายให้คุณครูว่าการตั้งคำถามนั้นถือเป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดการสังเกตและสื่อสารออกมาเป็นคำพูด การตั้งคำถามเช่นนี้ทำให้เด็กได้เกิดการวิเคราะห์ โดยที่ไม่ตัดสินว่าสิ่งที่เด็กตอบนั้นถูกหรือผิด เมื่อครูถามคำถามแล้วนั้นจะเป็นการทำให้เกิดประเด็นข้อสงสัยเพื่อที่ครูและเด็กจะได้สืบเสาะหาว่าทำไมถึงเกิดปัญหานั้นๆ เพื่อการเข้าใจที่ง่ายขึ้น ข้าพเจ้าจึงได้สรุปออกมาเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ดังนี้

     ต่อมาเป็นการนำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ชื่องานวิจัยว่า "การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ" โดยในแผนการสอนที่เพื่อนได้นำเสนอนั้นเป็นโครงการเรื่องถั่ว โดยการเรื่องหัวข้อโครงการนั้นควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก ซึ่งควรอิงจากสาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ได้แก่ 
           1) ตัวเรา
           2) บุคคลและสถานที่
           3) ธรรมชาติรอบตัว
           4) สิ่งต่างๆรอบตัว
ซึ่งการจัดโครงการนั้นต้องแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 
  • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
  • ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงกำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
  • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ เน้นที่กระบวนการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐาน เพราะเด็กจะได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้
  • ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
หลังจากที่เพื่อนๆได้นำเสนอตัวอย่างการสอนและงานวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทั้งหมดแบ่งกลุ่ม 4 - 5 คน แล้วให้คิดเมนูอาหารของแต่ละกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มได้อาหารดังนี้
  1. แพนเค้ก
  2. เกี๊ยวทอด
  3. ข้าวผัดทาโกยากิ
  4. ไอศกรีมเขย่า(กลุ่มข้าพเจ้า)
  5. พิซซ่า
แล้วอาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มเขียนวัตถุดิบ อุปกรณ์ และขั้นตอนการทำคร่าวๆ เขียนลงในกระดาษแล้วเสนออาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะได้ช่วยตรวจสอบความเรียบร้อยและความถูกต้อง 

🍨🍦ไอศกรีมเขย่า🍨🍦

วัตถุดิบ 
1. นมจืด
2. นมข้นหวาน
3. ช็อกโกแลตตกแต่ง
4. เยลลี่
5. ท็อปปิ้งเรนโบว์
6. กล้วยหอม
7. โอโจ้แท่ง
8. น้ำแข็ง
9. เกลือ

อุปกรณ์
1. กะละมังสแตนเลส
2. ที่คนส่วนผสม
3. ช้อนโต๊ะ
4. ถ้วยตวง
5. ถุงซิปล็อกขนาดเล็กและขนาดใหญ่
6. ถ้วย

ขั้นตอน
1. ให้เด็กๆตักนมจืด 1 ถ้วยตวงใส่ในถ้วยของตนเอง
2. เด็กตักนมข้นหวาน 2 ช้อนโต๊ะใส่ในถ้วยของตนเอง
3. ให้เด็กๆนำนมจืดและนมข้นหวานเทรวมกันในกะละมังสแตนเลส พร้อมทั้งคนส่วนผสมให้เข้ากันใส่เกลือเล็กน้อย
4. หลังจากนั้นให้เด็กๆเทส่วนผสมลงในถุงซิปล็อกขนาดเล็ก
5. ใส่น้ำแข็งและเหลือลงในถุงซิปล็อกขนาดใหญ่พร้อมเขย่าให้เข้ากัน
6. นำนมที่อยู่ในถุงซิปล็อกเล็กใส่เข้าไปในถุงซิปล็อกใหญ่ที่มีน้ำแข็งอยู่พร้อมทั้งปิดปากถุงให้เรียบร้อย
7. หลังจากนั้นเขย่าถุงซิปล็อกขนาดใหญ่ประมาณ 5 นาที จนนมแข็งเป็นไอศกรีม
8. ใช้ช้อนตักไอศกรีมใส่ถ้วยของตนเองพร้อมทั้งตกแต่ง

ซึ่งก่อนการที่เราจะทำกิจกรรมCooking เราต้องมีการทำแผ่นชาร์ต วัตถุดิบ เพื่อให้เด็กได้รับรู้ว่าในการทำกิจกรรมครั้งนี้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ชาร์ตสัดส่วน เป็นชาร์ตที่ใช้แสดงให้เด็กเห็นว่าเด็กต้องตักส่วนผสมเท่าไหร่จึงจะออกมาพอเหมาะ ชาร์ตขั้นตอนการทำ เป็นชาร์ตที่ใช้ในการบอกขั้นตอนการทำให้กับเด็ก ชาร์ตวางแผนตกแต่งไอศกรีม เป็นชาร์ตที่ทำการวางแผนที่จะตกแต่งไอศกรีมของเด็กๆแต่ละกลุ่ม
     การวางแผนเช่นนี้จะทำให้เด็กเกิดกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ รู้จักการวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอน 

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

          ทำให้เราเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ ได้รู้จักการจัดกิจกรรมโดยยึดหลักSTEM 

Adoption (การนำไปใช้)

          ซึ่งสามารถนำเอาหลักSTEMไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ในอนาคต

Assessment (การประเมิน)

          ตนเอง : ตั้งใจและสนใจเรียนในคาบนี้เป็นอย่างมาก ในช่วงท้ายๆคาบอาจจะมีพูดคุยบ้างเล็กน้อย
          อาจารย์ : ให้คำแนะนำระหว่างการเรียนการสอนตลอดเวลา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจของอาจารย์ได้เป็นอย่างดี
          บรรยากาศ : ช่วงต้นคาบบรรยากาศในการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น และในช่วงการคิดเมนูประจำกลุ่มบรรยากาศในการเรียนค่อนข้างสนุกสนาน

Vocabulary (คำศัพท์)

Raw material วัตถุดิบ
Proportion สัดส่วน
Imagination = จินตนาการ 
Observe = สังเกต
Exhibition นิทรรศการ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น