Rainbow Arch Over Clouds

Diary no.10 Tuesday, 17 October 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
การจัดประสบการ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เวลา 08.30 - 12.30 น.

Story of Subject (เนื้อหาที่สอน)

     ▫ เด็กจะได้รับประสบการ์ผ่านการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
     ▫ เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์จะนำประสบการณ์ไปสู่สมองและซึมซับจดจำเอาไว้ เมื่อเด็กเจอเหตุการ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเด็กก็จะนำเอาประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และเกิดเป็นความรู้ใหม่
     ▫ เมื่อเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้
     ▫ เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอดในสังคม

 ▶ ความรู้ที่ได้รับจากการชมคลิปวิดีโอเรื่อง อากาศ ได้รับความรู้ดังนี้ 
     ◦ อากาศมีตัวตนและต้องการที่อยู่
     ◦ อากาศมีน้ำหนักแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิรอบข้างว่าร้อนหรือเย็นมากน้อยเพียงใด ซึ่งอากาศร้อนจะทำให้อากาศมีน้ำหนักเบาลงและอากาศจะลอยขึ้น
     ◦ เมื่อมีอะไรมาแทนที่อากาศ อากาศจะเคลื่อนที่ออกไป  
      
หลังจากนั้นเป็นการนำเสนองานเดี่ยว คือ ของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้

ชื่อสื่อ : เสียงเขย่า

ความรู้ที่ได้รับ : การเกิดเสียงจากสื่อชิ้นนี้ เกิดจาการที่วัตถุที่อยู่ในภายในแกนทิชชู่ได้ตกกระทบกับตะปูจึงทำให้เกิดเสียง ซึ่งการเสียบตะปูและวัตถุที่อยู่ภายในแกนทิชชู่มีผลในการเกิดเสียง

(สามารถศึกษาวิธีการทำสื่อเสียงเขย่าเพิ่มเติมได้ที่ สื่อเสียงเขย่า )

จากนั้นเป็นการนำเสนองานคู่ คือ สื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเข้ามุม

ชื่อสื่อ : กระจกเงา

ความรู้ที่ได้รับ : เมื่อเรานำวัตถุไปวางไว้ตรงกลางของกระจกจะทำให้เกิดภาพสะท้อนภาพวัตถุนั้น โดยที่องศาการกางกระจกมีผลในการสะท้อนภาพของวัตถุนั้น เมื่อเราทำองศาของกระจกให้มีองศาที่แคบลงจะทำให้เกิดภาพสะท้อนออกมามีจำนวนหลายภาพ แต่ถ้าเรากางกระจกให้มีองศาที่กว้างจะให้เกิดภาพสะท้อนที่มีจำนวนน้อย

















Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

     ได้รับความรู้ในเรื่องของการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กที่หลากหลาย ซึ่งเราสามารถนำไปใช้การสอนเด็กได้จริง

Adoption (การนำไปใช้)

     เราสามารถนำเอาสื่อต่างๆมาเป็นเทคนิคในการสอนเด็กได้ ซึ่งการที่เรานำสื่อมาใช้นั้นจะทำให้เด็กเกิดประสบการณ์และเมื่อเด็กได้รับประสบการณ์ก็จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและเกิดเป็นความรู้ใหม่

Assessment (การประเมิน)

ตนเอง : มีการจดบันทึกและสรุปความรู้ที่อาจารย์ได้อธิบายให้เกิดความเข้าใจและง่ายต่อการจดจำอีกทั้งยังมีความสนใจในผลงานของเพื่อนทุกๆคน
อาจารย์ : สามารถอธิบายเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจยากให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น มีการเสนอแนะการปรับปรุงสื่อและนำสื่อไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
บรรยากาศ : ห้องเรียนเอื้ออำนวยกับการเรียนการสอนเป็นอย่างดี


Vocabulary (คำศัพท์)

กระบวนการทางสมอง = Brain process
การเชื่อมโยง = Connection
การสะท้อน = Reflection
การเคลื่อนที่ = Movement

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น