Rainbow Arch Over Clouds

Diary no.5 Tuesday, 5 September 2560.

 บันทึกการเรียรรู้ครั้งที่ 5
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ.2560

เวลา 08.30 - 12.30 น.


Story of Subject (เนื้อหาที่สอน)

          วันนี้ในช่วงต้นคาบอาจารย์ได้ให้พวกเราทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ โดยตอนแรกอาจารย์ได้ให้พวกเราคิดคำศัพท์ภาษาไทยคนละ 1คำและภาษาอังกฤษคนละ 1 คำ โดยที่ทั้งมีข้อแม้ว่าต้องมีศัพท์คำใดคำหนึ่งต้องออกเสียงคล้องกับศัพท์ก่อนหน้านี้ เช่น 

หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้พวกเราทำกิจกรรมอีกครั้งโดยในรอบนี้ให้เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมทั้งคำแปลโดยต้องออกเสียงคล้ายกับคำศัพท์ของเพื่อนข้างหน้าที่ได้ตอบไปแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นคำแปลหรือศัพท์ภาษาอังกฤษก็ได้ที่ต้องมีเสียงคล้องกับคำข้างหน้า เช่น

ซึ่งหลังจากจบกิจกรรมแล้วนั้นอาจารย์ได้สรุปกิจกรรให้พวกเราฟังว่า จากการที่เราทำกิจกรรมคำศัพท์แบบแรกนั้นจะมีความยากในการท่องจำมากกว่า เนื่องจากศัพท์ตัวที่สองนั้นไม่ใช่ศัพท์ที่ออกเสียงคล้ายกับคำแรกที่เราได้ออกเสียงคล้องกับคำข้างหน้า
ส่วนการทำกิจกรรมต่อศัพท์แบบที่สองนั้นจะทำให้สามารถจำศัพท์ได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากศัพท์ตัวแรกของเราไปคล้องเสียงกับศัพท์คำก่อนหน้านี้ ซึ่งคนที่ตอบต่อจากเรานั้นก็ต้องหาคำศัพท์หรือความหมายของศัพท์ที่คล้องเสียงกับศัพท์ของเรามาต่อกัน ซึ่งการต่อศัพท์แบบนี้จะทำให้เราจำศัพท์ได้เยอะมากขึ้น


จากกการทำกิจกรรมนี้ถือเป็นการทดสอบความรู้เดิมของเราเกี่ยวกับศัพท์ได้เป็นอย่างดี

          หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้พวกเราแบ่งกลุ่มกันเป็น 2 กลุ่มจำนวนเท่าๆกันแล้วให้พวกเราหานักทฤษฎีที่พูดถึงพัฒนาการด้านสติปัญญา โดยกลุ่มแรกได้ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของบรูเนอร์ และกลุ่มของข้าพเจ้าได้ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์ ซึ่งพวกเราทุกคนก็ได้ทำการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากมีเวลาที่จำกัด โดยอาจารย์ได้กำหนดหัวข้อหลักๆเอาไว้ 4 หัวข้อ คือ

  1.  ความหมายหรือแนวคิด
  2. ความสำคัญ
  3. ลำดับขั้นพัฒนาการ
  4. การนำไปประยุกต์ใช้

ซึ่งพวกเราทุกคนในกลุ่มก็ได้หาข้อมูลและช่วยกันสรุปออกมาแล้วนำไปเขียนลงแผ่นชาร์ต


เมื่อเขียนข้อมูลต่างๆลงแผ่นชาร์ตเรียบร้อยแล้วนั้นอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกไปนำเสนอให้อาจารย์และเพื่อนๆได้ฟังและทำความเข้าใจพร้อมกัน โดยกลุ่มเพื่อนที่ได้ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของบรูเนอร์ออกไปนำเสนอก่อนเป็นลำดับแรก



สรุป
 ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของบรูเนอร์

♦ แนวคิด
บรูเนอร์เชื่อว่า สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็กมีอิทธิพลในการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเกิดจากความพร้อมภายในตัวของเด็ก

♦ หลักการ
ประกอบด้วย 4 ลักษณะ
   1) แรงจูงใจ เกิดจากแรงจูงใจภายในตัวเด็ก เช่น อยากเรียน อยากรู้ เป็นต้น
   2) โครงสร้าง
   3) ลำดับขั้นความต่อเนื่อง
   4) การเสริมแรงทางบวก เช่น คำชมเชย ของรางวัล เป็นต้น

♦ ลำดับขั้นพัฒนาการ
   - ขั้นที่ 1 ขั้นการกระทำ 
คือ เรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการทำงานของสมอง โดยสมองจะเริ่มซึมซับสิ่งต่างๆรอบตัวและเก็บเป็นความรู้และประสบการณ์
   - ขั้นที่ 2 ขั้นจินตนาการ ขั้นนี้เด็กจะเริ่มรื้อฟื้นประสบการณ์เดิมที่ได้เรียนรู้มาเพื่อที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมเข้ากับประสบการณ์ใหม่ 
   - ขั้นที่ 3 ขั้นใช้สัญลักษณ์และความคิดรวบยอด เป็นขั้นของการที่เด็กสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมเข้ากับประสบการณ์ใหม่ได้แล้ว และเกิดเป็นความรู้ใหม่  

♦ แนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้
   1) ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน
   2) โครงสร้างบทเรียนมีความเหมาะสม
   3) การจัดลำดับความยากง่าย
   4) การเสริมแรงของผู้เรียน 

ลำดับต่อไปเป็นกลุ่มของข้าพเจ้าที่ได้ออกไปนำเสนอ


สรุป
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์
♦ ควาหมาย 
การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา จะมีพัฒนาการเป็นไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น ไม่ควรเร่งเด็กให้ข้ามขั้นของพัฒนาการ จากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง

♦ ความสำคัญ
เน้นความเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการรกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น

♦ ลำดับขั้นพัฒนาการ
   1) ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว อยู่ในช่วงแรกเกิด - 2 ปี ขั้นนี้จะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ซึ่งพัฒนาการช่วงนี้จะมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
   2) ขั้นปฏิบัติการคิด แบ่งย่อยเป็น 2ขั้น
          2.1 ขั้นก่อนเกิดสังเกป ช่วงอายุ 2 - 4ปี เด็กในวัยนี้ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง มีขีดจำกัดในการรับรู้ สามารถเข้าใจได้เพียงมิติเดียว
          2.2 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ ช่วงอายุ 4 - 7ปี เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการคิด เริ่มคิดมีเหตุผลตามความเป็นจริง เด็กจะเริ่มก้าวออกจาการรับรู้เพียงมิติเดียวไปสู่การรับรู้ได้ในหลายๆมิติ เริ่มมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวดีขึ้น
   3) ขั้นปฏิบัติการด้านรูปธรรม ช่วงอายุ 7 - 11ปี เด็กจะมีความสามารถคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น เด็กสามารถคิดย้อนกลับและเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ การคิดของเด็กยังต้องอาศัยสิ่งที่เป็นรูปธรรมอยู่ ยังไม่สามารถคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมแบบผู้ใหญ่ได้
   4) ขั้นปฏิบัติการด้านนามธรรม ช่วงอายุ 11 - 15ปี เด็กจะเริ่มมีความคิดเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น คิดหาเหตุผลนอกเหนือจากข้อมูลที่มี 

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
          จากการเรียนในคาบนี้ทำให้เข้าใจกระบวนการทางสมองมากขึ้นว่ามีลำดับขั้นตอนอย่างไร ธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กในการคิดเป็นอย่างไร 

Adoption (การนำไปใช้)
          สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กได้อย่างเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก 

Assessment (การประเมิน)
          ตนเอง : เข้าใจทฤษฎีด้านสติปัญญามากขึ้นหลัังจากที่เข้าใจเพียงเล็กน้อย ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มเป็นอย่างมากและมีส่วนร่วมในการทำงาน
          อาจารย์ : อธิบายเรื่องยากให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เปิดโอกาศให้นักศึกษาถามเมื่อเกิดข้อสงสัยต่างๆ
          บรรยากาศ : เพื่อนให้ความสนใจกับกิจกรรมเป็นอย่างดี ทำให้ห้องเรียนมีบรรยากาศน่าเรียนเป็นอย่างมาก



Vocabulary (คำศัพท์)

Development = พัฒนาการ
Intelligence = สติปัญญา
Learning = การเรียนรู้
Motivation = แรงจูงใจ
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น