Rainbow Arch Over Clouds

สรุปบทความ

สรุปบทความ

          จากบทความนี้กระแสความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย รวดเร็วผนวกกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมและสภาพแวดล้อมทำให้ผู้คนต้องการปรับตัว เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้อย่าง มีคุณภาพ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ได้ส่งผลต่อกระบวนการด้านการศึกษา ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม
          สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กำลังผลักดันการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยเน้นการนำความรู้และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศกรรมศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
           ล่าสุด สสวท. ได้จัดงานประชุมวิชาการ “สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทย” และการนำเสนอผลงานวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัย ครั้งที่ 2 ที่เน้นการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ซึ่งส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยรู้จักการแก้ปัญหาและการสืบเสาะหาความรู้ด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย ทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อมที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศในอนาคต 
           “แนวคิดในเรื่องสะเต็มศึกษานั้น เป็นกระบวนการเชิงระบบแบบวิทยาศาสตร์ที่นำมาเชื่อมโยงในกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงาน จากการคิดค้นการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ซึ่งสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน โดยนำสิ่งที่เรียนรู้ในระบบโรงเรียนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้” 
          สำหรับวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดใจของเด็กเพื่อให้มีความรู้สึกสนุกในการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มีแนวคิดหลัก 5 ข้อ คือ 
1.) ครูต้องเน้นการบูรณาการ 
2.) ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาที่กำลังเรียนชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ 
3.) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 
4.) ท้าทายความคิดของผู้เรียน  
5.) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
           การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้เข้ากับชีวิตประจำวันจะทำให้ผู้เรียนสามารถเห็นความสำคัญและเข้ามาเรียนในสายวิทยาศาสตร์มากขึ้นซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดกำลังคนในด้านวิทยาศาสตร์ และทำให้คนทั่วไปมีทักษะในด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น
           ในงานประชุมวิชาการนี้ มีครูปฐมวัย มานำเสนอผลงานวิชาการและสาธิตการจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีระดับปฐมวัยตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกิจกรรมบูรณาการและแบบโครงงาน (Project based learning) ผลงานวิชาการที่น่าสนใจภายในงาน เช่น กิจกรรมเส้นสายสัมพันธ์ โครงงานกล้วยผง โครงงานเรื่องขวดเก่า มาเล่าใหม่ และโครงงานปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู เป็นต้น
          ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการ “สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทย” และการนำเสนอผลงานวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ปฐมวัย ครั้งที่ 2 เป็นการเปิดโอกาสให้ครู นักวิชาการ และบุคลากรทางการศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกระบวนการการเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอีกด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น