สรุปวิจัย
Logical Thinking of Perschool Children through Scientific Basic Skill Activity
ผู้ศึกษาค้นคว้า : สมคิด ศรไชย
อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์
มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลยศรีนครินทรวิโรฒ พฤษภาคม
2557
ความมุ่งหมายงานวิจัย
การวิจัยครั้งนี้
เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงเหตุผลที่มีต่อการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1.
เพื่อศึกษาระดับการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้านที่วัดก่อนและหลังการจัดกิกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์
ขอบเขตของการวิจัย
1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 5 - 6 ปี
ที่กําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่
3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2556 โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย เขตบางละมุง
สังกัด สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
จังหวัดชลบุรี
2.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 5 – 6 ปี
ที่กําลังศึกษาอยู่ในชั้น
อนุบาลปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย เขตบางละมุง สังกัดสํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย
ด้วยการจับสลากมา 1 ห้องเรียนจาก
3 ห้อง แล้วทําการจับสลากนักเรียนจํานวน
15 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง
3.ระยะเวลาในการทดลอง
การทดลองครั้งนี้กระทําในภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2556
ใช้เวลาในการทดลอง
8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3
วัน วันละ 20 นาที ในช่วงเวลา
9.00 – 9. 20 น. รวมระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น
24 ครั้ง
ตัวแปรที่ศึกษา
1.
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.
ตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดเชิงเหตุผล
สมมติฐานในการวิจัย
การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบทดสอบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย
2. แผนการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างแผนการสอน
สรุปผล
จากผลการทดลองพบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดเชิงเหตุผลในภาพรวมและรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาอยู่ในระดับที่ดีขึ้น
ภาคผนวก (ภาพกิจกรรม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น