Rainbow Arch Over Clouds

Diary no.11 Tuesday, 24 October 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
การจัดประสบการ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เวลา 08.30 - 12.30 น.

Story of Subject (เนื้อหาที่สอน)


ปรากฏการณ์ : การหักเหของแสง 
การทดลอง   : แสงเลี้ยวเบน 
อุปกรณ์


1. โหลเปล่า 2 ใบ 
2. หลอดดูดน้ำ 2 หลอด 
3. น้ำเปล่า
4. น้ำมันพืช

วิธีการทดลอง


1) นำโหลมา 2 ใบ ใบแรกไม่ต้องใส่น้ำ ใบที่ 2 ใส่น้ำจนถึงครึ่งโหล 
2) หลังจากนั้นใส่หลอดลงไปในโหลทั้ง 2 ใบและสังเกตการหักงอของหลอด
3) นำโหลเปล่าที่ไม่ได้ใส่น้ำมาใส่น้ำมันพืชลงไปครึ่งโหลและใส่หลอดลงไป สังเกตการหักงอของหลอด
4) เติมน้ำลงไปในโหลที่มีน้ำมันพืชและรอจนกว่าน้ำและน้ำมันแยกชั้นกัน เมื่อน้ำและน้ำมันแยกชั้นให้ใส่หลอดลงไปและสังเกตหลอดว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร

ผลจากการสังเกต
หลอดจะมีลักษณะหักงอเนื่องจากความหนาแน่นภายในน้ำมีความแตกต่างกัน

สรุปผลการทดลอง
แสงจะเริ่มเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน ความเร็วของแสงก็จะเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงเกิดการหักเห ซึ่งเราจะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "การหักเหของแสง" ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากการงอของหลอดดูดน้ำที่อยู่ในน้ำและน้ำมัน เนื่องจากความเร็วของแสงในน้ำและมันมีความเร็วแตกต่างกัน จึงทำให้เรามองเห็นหลอดดูดน้ำหักงอ 2 แห่งนั่นเอง



Vocabulary (คำศัพท์)
การหักเห = Refraction
ความหนาแน่น = Density
ความเร็วแสง = Light speed
การหักเหของแสง = Refraction of light
หลอดดูดน้ำ = Straw
โหลแก้ว = Glass Jar







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น